วันที่ : 27 กุมภาพันธ์ - 8 มีนาคม 2553
สถานที่ : ณ สนามหน้าเมืองอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
ประเพณีนบพระเล่นเพลง เป็นประเพณีที่สืบทอดมาจากสุโขทัย ซึ่งได้กล่าวถึงว่า ในสมัยพญาลิไทได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากลังกามาบรรจุไว้ที่องค์พระ เจดีย์ วัดพระบรมธาตุ ตำบลนครชุม ดังนั้นจึงได้มีการจัดขบวนของเจ้าผู้ครองนครไปนมัสการพระบรมธาตุ การจัดงานนบพระเล่นเพลง ถือเป็นงานประจำปีของจังหวัดกำแพงเพชร เป็นการ ฟื้นฟูและเผยแพร่ประเพณีดั้งเดิมที่ถ่ายทอดให้กับคนรุ่นใหม่ได้เข้าใจถึง ประวัติความเป็นมาของท้องถิ่นตน จังหวัดกำแพงเพชรได้ฟื้นฟูประเพณีนบพระเล่นเพลงขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ด้วยการจัดขบวนแห่พยุหยาตราจำลองไป นบพระ และเวียนเทียนพระบรมธาตุเจดีย์ และได้มีการแสดงการละเล่น เล่นเพลง กันเป็นที่เอิกเกริก รวมทั้งจัดให้มีการแสดงแสงสีเสียงถึงประวัติความเป็นมาของการตั้งบ้านแปลง เมือง นอกจากนี้ยังได้มีการออกร้านแสดงสินค้าหัตถกรรมท้องถิ่น
รายละเอียดกำหนดการจัดงานประเพณีนบพระ-เล่นเพลง และงานกาชาดจังหวัดกำแพงเพชร ประจำปี 2553
ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ – 8 มีนาคม 2553
ณ สนามหน้าเมืองอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
******************************************************************
อ่านต่อ..
วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553
วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
งานบางแสนย้อนยุค ปีที่ 2
งานบางแสน ย้อนยุค ปีที่ 2
เทศบาลเมืองแสนสุข ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ขอเชิญเที่ยวงานบางแสนย้อนยุค ปีที่ 2 ประจำปี 2553 ภายใต้สโลแกนเก๋ๆ "แต่งตัว ให้ย้อน(ยุค) ลีลาศให้เพลิน แล้วมาสัมผัสความบันเทิงในยุค 60-80's" ระหว่างวันที่ 26-27 กุมภาพันธ์ 2553 ณ บริเวณชายหาดบางแสน ชลบุรี
อ่านต่อ..
เทศบาลเมืองแสนสุข ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ขอเชิญเที่ยวงานบางแสนย้อนยุค ปีที่ 2 ประจำปี 2553 ภายใต้สโลแกนเก๋ๆ "แต่งตัว ให้ย้อน(ยุค) ลีลาศให้เพลิน แล้วมาสัมผัสความบันเทิงในยุค 60-80's" ระหว่างวันที่ 26-27 กุมภาพันธ์ 2553 ณ บริเวณชายหาดบางแสน ชลบุรี
อ่านต่อ..
วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
''สามพันโบก” โลกตะลึง!!!
![]() |
|
วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
งานมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ ครั้งที่ 34 ประจำปี 2553
สถานที่ : ณ สวนสาธารณะหนองบวกหาด บริเวณเชิงสะพานนวรัฐ และลานเอนกประสงค์ข่วงประตูท่าแพ
จังหวัดเชียงใหม่ กำหนดจัดงานมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ ครั้งที่ 34 ประจำปี 2553 ระหว่างวันที่ 5 - 7 กุมภาพันธ์ 2553 ณ สวนสาธารณะหนองบวกหาด บริเวณเชิงสะพานนวรัฐ และลานเอนกประสงค์ข่วงประตูท่าแพ โดยปีนี้มีรางวัลถ้วยพระราชทานสำหรับการประกวดขบวนรถบุปผชาติแต่ละประเภท


การจัดงานมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับสืบทอดกันมาเป็นเวลา 33 ปี โดยกำหนดจัดงานในวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ แรกของเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชิดชูและคงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนเป็นการแสดงออกถึงความงดงามตระการตาของดอกไม้นานาพันธุ์ ซึ่งมีกิจกรรมหลากหลายประเภท ได้แก่
-การจัดนิทรรศการและการประกวดไม้ดอกไม้ประดับตลอดเวลาการจัดงาน
-การแห่ประกวดขบวนบุปผชาติ วันที่ 6 ก.พ.53
-การประกวดนางงามบุปผชาติและนางงามบุปผชาตินานาชาติ คืนวันที่ 5 ก.พ.53
-การจัดกาดหมั้วเช้าวันที่ 6 ก.พ.53 ณ สวนข้างจวนผู้ว่าราชการจังหวัด และระหว่าง 5-7 ก.พ.53 ณ ข่วงประตูท่าแพ
-การจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน 5-7 ก.พ.53 ณ สวนสาธารณะหนองบวกหาดและข่วงประตูท่าแพ
-การแสดงดนตรีในสวน 6-7 ก.พ.53 ณ เวทีสวนสาธารณะหนองบวกหาด และ 5-7 ก.พ.53 ณ ข่วงประตูท่าแพ
-การตกแต่งเส้นทาง การทำถนนดอกไม้ ตามเส้นทางที่ขบวนรถบุปผชาติผ่าน
-การจัดมหกรรมอาหาร 5-7 ก.พ.53 ณ บริเวณถนนอารักษ์ด้านทิศตะวันตกของสวนสาธารณะหนองบวกหาด


สำหรับในปีนี้นับเป็นกรณีพิเศษที่ทางจังหวัดเชียงใหม่ได้ขอพระราชทานถ้วย รางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สำหรับการประกวดขบวนแห่รถบุปผชาติทั้งประเภทสวยงาม ประเภทความคิดสร้างสรรค์ และประเภทอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม นอกจากนั้น ยังได้เน้นเรื่องความเป็นล้านนาโดยการแต่งกายและภาษาพูด แต่งพื้นเมือง อู้กำเมือง สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม และในวันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2553 กำหนดให้มีการจัดกิจกรรมถนนคนเดินช่วงถนนสามล้าน เชื่อมโยงกับถนนคนเดินที่เทศบาลนครเชียงใหม่จัดเป็นประจำอยู่แล้ว

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประจำปี 2553
สถานที่ : อุทยานพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (อุทยาน ร.2) อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม


มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในพระบรมราชูปภัมภ์ ร่วมกับ จังหวัดสมุทรสงคราม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กรมศิลปากร และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในจังหวัดสมุทรสงคราม กำหนดจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประจำปี 2553 ในระหว่างวันที่ 6-7 กุมภาพันธ์ 2553 ณ อุทยานพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (อุทยาน ร.2) อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เนื่องในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระองค์ โดยได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้พระองค์ท่านทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 จึงได้มีการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯขึ้นเป็นประจำทุกปี สำหรับกิจกรรมภายในงาน นักท่องเที่ยวจะได้ชมการประกวด “สวน(ครัว)ศรีที่ในกระถาง” ชมการแสดงนาฏศิลป์ตามบทพระราชนิพนธ์ เรื่องอิเหนา ตอนครองรัก รำอาเศียรวาท และโขนชุดศึกกุมภกรรณ(สุครีพถอนต้นรัง-พุ่งหอกโมกขศักดิ์) โดยศิลปินกรมศิลปากร การแสดงละครชาตรี การแสดงหุ่นกระบอก การสาธิตการทำขนมไทยที่หาชมยาก การประกวดวาดภาพหัวข้อถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ทรงมีพระ พลานามัยสมบูรณ์ การประกวดบอนสี การสาธิตการประดิษฐ์ช่อดอกไม้จากเยื่อใบไม้ การสาธิตการร้อยลูกปัด การจัดนิทรรศการต่างๆ เช่น นิทรรศการบ้านว่านไทย (รวบรวมจัดแสดงว่าน 108 ชนิด) นิทรรศการกระเบนในลุ่มน้ำแม่กลอง (กระเบนเจ้าพระยา) เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถเลือกซื้อสินค้าชุมชนเพื่อเป็นของฝากหรือของที่ระลึกได้ อีกด้วย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
อุทยาน ร.2 โทร. 0 3475 1666 หรือ
ททท.สำนักงานสมุทรสงคราม โทร. 0 3475 2847-8
E-mail : tatsmsk@tat.or.th หรือ
TAT Call Center 1672
อ่านต่อ..
วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553
เทศกาลตรุษจีนไชน่าทาวน์ เยาวราช 2553

ความเป็นมาของขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ของชาวจีน ไม่ว่าจะเป็นประเพณีกินเจ ซึ่งจัดในช่วงเดือนเก้าของจีน (ประมาณเดือนตุลาคม) เทศกาลไหว้พระจันทร์ เดือนแปดของจีน (ประมาณเดือนกันยายน) หรือเทศกาลตรุษจีนเดือนหนึ่งของจีน (ประมาณเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์) ขนบธรรมเนียมประเพณีเหล่านี้ล้วนเป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณ และเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ของคนจีน หรือเรียกกันว่า "เทศกาลตรุษจีน" นั้น อาจนับได้ว่าเป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดในบรรดาวันต่าง ๆ ของชาวจีน
กรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะถิ่นสัมพันธวงศ์ ถือเป็นชุมชนที่สำคัญ และเป็นที่รู้จักกันดี ในบรรดานักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เนื่องจากเป็นชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีนที่เก่าแก่ มีที่พัก แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ โดยเฉพาะชื่อเสียงในด้านสินค้าของที่ระลึกเกี่ยวกับทองคำ และเป็นแหล่งรวมอาหารเลิศรส ในจังหวัดต่าง ๆ ยังมีย่านชุมชนที่อยู่อาศัยและทำการค้าขายของพี่น้องประชาชนชาวไทยเชื้อสาย จีนอีกหลายแห่งที่มีความน่าสนใจ และมีการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองเนื่องในเทศกาลตรุษจีนอยู่เป็นประจำทุกปี
ซึ่ง ปีนี้ เทศกาลตรุษจีนไชน่าทาวน์ เยาวราช จะมีขึ้นวันที่ 14 - 15 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 12.00 - 24.00 น. บริเวณถนนเยาวราช ตั้งแต่บริเวณซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ - แยกลำพูนไชย
กิจกรรม
1. บูธศิลปวัฒนธรรมจีน บูธกิจกรรม บูธของดีเยาวราช และการออกร้านของหน่วยงานและสมาคมต่าง ๆ และ บูธสินค้าทำมือจากนักศึกษา
2. การแสดงจากประเทศจีน สนับสนุนโดยรัฐบาลจีน และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
3. การแสดงศิลปะวัฒนธรรมจีน
4. คอนเสิร์ตจากศิลปิน GMM Grammy
- วันที่ 14 บี้ The Star, รุจ The Star, สิงโต The Star, เอ็ม อรรถพล The Star
- วันที่ 15 ดิว The Star , กิ่ง The Star , ชิน ชินวุฒิ , Calories Blah Blah และอลังการโชว์จากเจ้าชายลูกทุ่ง
5. การตกแต่งด้วยแผงโคมไฟสีแดงนับพันดวงในบริเวณงาน
วันตรุษจีน
วันตรุษจีน
กิจกรรมพิธีการ
วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553
• เวลา 16.00 น. พิธีกล่าวอวยพรตรุษจีน โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ เวทีการแสดงตรุษจีนไชน่าทาวน์เยาวราช
• เวลา 17.00 น. พิธีเปิดงานเทศกาลตรุษจีนไชน่าทาวน์ ปี 2553 ณ ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ ฯ (สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธาน)
- นิทรรศการตราประทับเจ้าแม่กวนอิม ณ วัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร ตราประทับเจ้าแม่กวนอิมที่มีอายุมากว่า 1,000 ปี ณ วัดกว่างเต๋อ (เมืองซุ่ยหนิง มณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน) หรือวัดบ้านเกิดเจ้าแม่กวนอิม (เจ้าแม่กวนอิมในร่างผู้ชาย) ซึ่งเคยประทับที่นี่ 69 ปี จากนั้นจึงย้ายไปไปอยู่ที่เกาะผู่ถ่อซาน ในอดีตพระสงฆ์ที่จะเดินทางไปต่างประเทศจะต้องมาประทับตราเข้าออกที่วัดแห่ง นี้ก่อนที่จะเดินทางออกนอกเขต
- เวทีกิจกรรมการแสดงจากประเทศไทยและสุดยอดศิลปการแสดงทางวัฒนธรรมของจีน 10 มณฑล (นครปักกิ่ง เขตปกครองตนเองทิเบต เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน เขตปกครองตนเองเผ่ากว่างซีจ้วง (กวางสี) มณฑลเหลียวหนิง มณฑลเสฉวน มณฑลจี๋หลิน มณฑลเจ้อเจียง มณฑลเฮยหลงเจียง เขตปกครองตนเองซินเกียง) อาทิเช่น อุปรากรจีน การแสดงในราชสำนัก กายกรรม มวยกังฟู การแสดงดนตรีจีน การแสดงหุ่นกระบอก ระบำชนเผ่า ระบำฮุยกู ระบำมองโกล ระบำ เจียงหนาน การแสดงเปลี่ยนหน้ากากจากมณฑลเสฉวน ฯลฯ
สอบถามข้มูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเขตสัมพันธ์วงศ์ โทร. 0 2234 9688, 0. 2233 1224-8
อ่านต่อ..
เที่ยวเมืองน่าน สัมผัสชมพูภูคาบาน

น่าน เมืองที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมได้อย่างน่าอัศจรรย์ สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ด้าน โบราณสถาน สถาปัตยกรรม อาคารบ้านเรือน งานศิลปะ ประเพณี วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนหลากหลายชนเผ่า ผ่านมาหลายยุคสมัยที่สังคมมีการเปลี่ยนแปลงจากกระแสความเจริญจากภายนอกอย่าง มากมาย จนถึงปัจจุบันน่านยังคงรักษาวัฒนธรรมได้ลงตัวอย่างลงตัวและน่าสนใจอย่าง ยิ่ง น่านยังได้รับการกล่าวกันว่าเป็นชุมชนคนต้นน้ำอันเป็นพื้นที่ประกอบด้วย แม่น้ำ สายธาร ภูเขา ป่าไม้ ทั้งวัฒนธรรมและธรรมชาติได้หล่อหลอมความเป็น“เมืองแห่งอารยธรรม ล้านนาตะวันออก” อย่างแท้จริง และยังมีกลิ่นไอของอารยธรรมล้านช้างหรือเมืองหลวงพระบางอันลือชื่อใน ปัจจุบัน อีกด้วย อันเป็นเสน่ห์ให้ผู้คนหลงใหลในความเป็นอดีตและความเป็นธรรมชาติเดินทางมา ท่องเที่ยวยังเมืองน่านและกลายเป็นจุดหมายทางการท่องเที่ยวแห่งใหม่ใน ภูมิภาคภาคเหนือในปัจจุบัน
สำหรับในเดือนกุมภาพันธ์ อันเป็นเดือนแห่งความรัก ไปจนถึงเดือนมีนาคม 2553 นักท่องเที่ยวต่างรอคอยที่จะมาสัมผัสความงามของดอกชมพูภูคา นามว่า “ชมพูภูคา” ได้รับพระราชทานมาจากสมเด็จพระเทพพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต้นชมพูภูคาเป็นพืชหายากชนิดหนึ่งของโลก มีดอกสีชมพูอมขาว มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Bretschneidera sinensis Hemsl ชื่อวงศ์ BRETSCHNEIDERACEAE พบแห่งเดียวที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา อ.ปัว จ.น่าน เคยค้นพบในพื้นที่ตอนใต้ของประเทศจีนและตอนเหนือของประเทศเวียดนาม จากนั้นก็ไม่มีการค้นพบอีกเลยและอาจจะสูญพันธ์จากโลกไปแล้ว จนในปี 2552 ได้มีการค้นพบอีกครั้งโดย ดร. ธวัชชัย สันติสุข นักพฤกษศาสตร์คนสำคัญของประเทศไทย ณ อุทยานแห่งชาติดอยภูคาแห่งนี้
ในปี 2553 นี้ คาดว่าดอกชมภูภูคาจะเริ่มบานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์และจะบานงดงามให้นักท่อง เที่ยวได้สัมผัสไปจนถึงกลางเดือนมีนาคม 2553 นอกจากนี้ ในระหว่างวันที่ 19-21 กุมภาพันธ์ 2553 อำเภอปัว ได้จัดงาน เทศกาลชมพูภูคา สืบสานตำนานไตลื้อ ในช่วงดอกชมพูภูคาบานอีกด้วย เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสเมืองน่านเมืองแห่งอารยธรรมล้านนาตะวันออกไป พร้อมกับการชมดอกชมพูภูคา
ททท.สำนักงานแพร่ แนะนำนักท่องเที่ยวได้สัมผัสเมืองน่านด้วยตนเองหรือนั่งรถ ราง โดยเฉพาะในพื้นที่เรียกว่า “หัวแหวนเมืองเก่าน่าน” มีโบราณสถานสวยงามและเก่าแก่ เช่น วัดภูมินทร์ วัดพระธาตุช้างค้ำ งาช้างดำที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน วัดมิ่งเมือง วัดสวนตาล และ วัดพระธาตุแช่แห้ง (พระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีเถาะ) ระหว่างการเดินทางยังแนะนำนักท่องเที่ยวแวะนมัสการพระธาตุช่อแฮ (พระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีขาล) ณ วัดพระธาตุช่อแฮ ในจังหวัดแพร่ เพิ่มเติมเพื่อเป็นสิริมงคล
นักท่องเที่ยวที่สนใจเดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดหวัดแพร่ น่าน และอุตรดิตถ์ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ ททท. สำนักงานแพร่ โทรศัพท์ 0 5452 1118 , 0 5452 1127, อุทยานแห่งชาติดอยภูคา โทร. 0 5470 1000, 0 5473 1362, 08 1881 6785 เทศบาลตำบลปัว โทร. 0 5479 1400, 08 7786 7743, 08 9701 0350 อ่านต่อ..
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)